โรคกรีนนิ่ง

เครดิตภาพ : https://www.thaigreenagro.com/wp-content/uploads/2018/06/โรคกรีนนิ่งในมะนาว.jpg

โรคกรีนนิ่ง

    เกิดจากเชื้อชนิดหนึ่งคล้ายเชื้อบักเตรี  หรือ เรียกว่าแบคทีเรียแกรมลบ เมื่อเชื้อเจริญอยู่ในเนื้อเยื่อส้ม ทำให้ต้นส้มทรุดโทรม ใบแสดงอาการคล้ายขาดธาตุอาหาร โดยเฉพาะการขาดธาตุสังกะสี เกษตรจึงมักสับสนกับโรคที่เกิดจากการขาดธาตุสังกะสีและอาจจะไม่สามารถแยกความแตกต่างได้ บางครั้งเรียกรวมๆ กันว่า โรคใบแก้ว

เครดิตภาพ : https://fc-ktr-discourse-production.s3.dualstack.ap-southeast-1.amazonaws.com/original/3X/1/b/1be736c4f32949c68c9fe1f92d3112a558fbe03d.jpeg

อาการของโรค

     ใบส้มที่เป็นโรคมีสีเหลือง เส้นใบสีเขียว ใบมีขนาดเล็กตั้งชี้ ผลมีขนาดเล็ก คุณภาพไม่ดีและผลส้มมักร่วงในที่สุด หากเป็นโรครุนแรงใบแก่จะโค้งงอผิดปกติกิ่งและข้อสั้นกว่าปกติแตกกิ่งมากคล้ายกิ่งไม้กวาด ขนาดผลเล็ก เมล็ดลีบหรือเมล็ดตาย ผลมักร่วงก่อนแก่เต็มที่ขั้วผลมีสีแดง และ หลุดร่วงง่าย กิ่ง แห้งตายจากส่วนปลายยอด และลุกลามไปทั่วต้น โรคอาจแพร่ระบาดโดยเกษตรกรตอนกิ่งหรือติดตาจากต้นเป็นโรคกรีนนิ่ง และมีเพลี้ยไกแจ้ส้ม (Asian citrus psyllid) เป็นแมลงพาหะนำโรค

สาเหตุของโรค

  โรคกรีนนิ่งเกิดจากเชื้อบัคเตรีหรือแบคทีเรียชนิดหนึ่ง อยู่และขยายจำนวนภายในเซลล์ของท่ออาหารของต้นส้มเป็นโรค

การระบาดของโรค

เกิดจากการขยายพันธุ์จากต้นแม่พันธุ์ที่มีเชื้อโรค ทั้งการขยายพันธุ์แบบกิ่งตอน ติดตาเสียบยอด หรือวิธีการอื่นๆ โดยเชื้อโรคจะติดไปกับส่วนขยายพันธุ์เหล่านั้น อีกวิธีหนึ่งที่สำคัญคือ แพร่ระบาดโดยมีแมลงพาหะนำโรค ได้แก่ เพลี้ยกระโดดส้มหรือเพลี้ยไก่แจ้ส้ม

การควบคุม

โรคนี้ไม่มีสารเคมีที่ควบคุมโรคหรือเชื้อโรคได้ ดังนั้นการป้องกันกำจัดโรคที่มีประสิทธิภาพ คือ หลีกเลี่ยงการปลูกโดยใช้กิ่งพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์ที่เป็นโรค อาจเลือกใช้ต้นพันธุ์ส้มปลอดโรค ควบคุมแมลงพาหะของโรค ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงตามคำแนะนำทางวิชาการ

ที่มา : https://ebook.lib.ku.ac.th/ebook27/ebook/2011-002-0253/#p=10

ช่องทางการติดต่อ